top of page
  • Writer's pictureAdmin

เลือกฟิล์มอาคารอย่างไร ให้ถูกใจ งบประมาณในกระเป๋า?

Updated: Oct 15, 2020

เลือกฟิล์มอาคารอย่างไร ให้ถูกใจ ถูกงบประมาณในกระเป๋า? ข้อควรรู้ก่อนติดฟิล์มอาคาร

ปัจจุบันมีฟิล์มกรองแสงนับสิบแบรนด์อยู่ในตลาด ซึ่งแต่ละแบรนด์ต่างก็โฆษณาว่าเป็นสินค้า นำเข้าจากต่างประเทศ สามารถลดความร้อนได้สูง ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้เกือบ 100% แถมยังกันรังสี

อินฟาเรตสูง เป็นต้น


ถ้าฟิล์มแบรนด์นั้นมีคุณสมบัติอย่างที่โฆษณาจริง ตัวลูกค้าก็จะได้รับผลประโยชน์ และความพอใจที่ตรงตามความต้องการ คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่เสียไป แต่ปัญหาคือจะทราบได้อย่างไร

ว่าข้อความที่โฆษณาเป็นจริงหรือไม่?


อย่างแรกเราควรรู้จักประเภทของฟิล์มอาคารเสียก่อน ว่ามีกี่ประเภท และแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปแล้วฟิล์มอาคารจะแบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้


1. ฟิล์มใสกันร้อน เป็นฟิล์มอาคารที่กันรังสีความร้อนได้ดี และก็ยังมีความใส สามารถมองจากด้านนอกเข้ามาได้ชัดเจน เหมาะสำหรับคนที่ต้องการชมวิวหรือต้องการโชว์ของหน้าร้าน อย่างร้านอาหารหรือโชว์รูม แต่อาจจะกันร้อนได้ไม่ดีเท่าฟิล์มสีเข้มเพราะแสงผ่านเข้ามาได้มากกว่า อีกทั้งฟิล์มตัวนี้ราคาจะค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับฟิล์มประเภทอื่นๆ


2. ฟิล์มดำ เป็นฟิล์มโทนสีเข้ม มองจากข้างนอกเข้ามาข้างในไม่เห็น หรือเห็นบ้างบางส่วน

ขึ้นอยู่กับความเข้มที่เลือก เหมาะสำหรับคนที่ชอบความเป็นส่วนตัว ลดแสงจ้า กันร้อนได้ดี

ซึ่งฟิล์มยิ่งเข้มก็จะยิ่งกันความร้อนได้ดีเพราะแสงผ่านเข้ามาน้อย แต่ก็จะทำให้ทัศนวิสัยมืดลงด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันมีฟิล์มเซรามิกหรือนาโนเซรามิกสำหรับคนที่ต้องการติดฟิล์มติดอาคารแบบมืด

แต่มองออกไปจากข้างในสว่าง ซึ่งเป็นฟิล์มประเภทหนึ่งที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดี


3. ฟิล์มปรอท เป็นฟิล์มที่ฉาบด้วยสารโลหะต่างๆ ทำให้เนื้อฟิล์มมันวาวคล้ายกระจก

มองจากข้างนอกเข้ามาข้างในไม่เห็น ฟิล์มประเภทนี้สามารถสะท้อนความร้อนได้ดี

แต่อาจจะทำให้แสงจะสะท้อนเข้าตาผู้อื่นได้คอนโดหรืออาคารบางแห่ง

จึงมีข้อกำหนดห้ามติดฟิล์มอาคารแบบฉาบปรอท


4. ฟิล์มนิรภัย เป็นฟิล์มเนื้อหนามากกว่าฟิล์มประเภทอื่นกันความร้อนได้บางส่วน

แต่ป้องกันกระจกแตกจากอุบัติเหตุและการทุบกระจกได้ดี



สิ่งที่ต้องพิจารณาควบคู่กับประเภทของฟิล์ม

หลักจากที่รู้ประเภทของฟิล์มแล้วมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนตัดสินใจติดฟิล์มกรองแสง ดังต่อไปนี้


1. มาตรฐานของโรงงานผู้ผลิตและบริษัทผู้นำเข้าฟิล์ม ต้องมีตัวตนชัดเจน สามารถตรวจสอบได้

โดยส่วนใหญ่แล้วจะแสดงอยู่ในโบรชัวร์หรือสื่อส่งเสริมการขายต่างๆ


2. คุณสมบัติเฉพาะของฟิล์ม (FILM SPECIFICATION) พลังงานแสงอาทิตย์นั้น ประกอบ ด้วย 3 ส่วน คือ

รังสีอินฟราเรด (IR) 53% รังสีอุลตร้าไวโอเลต(ยูวี) 3% แสงสว่าง 44% ค่าความร้อนที่เกิดจากแสงอาทิตย์

เกิดจากรังสีอินฟราเรดและแสงสว่างรวมกันมิได้เกิดจากอินฟราเรดเพียงอย่างเดียว ฉะนั้นฟิล์มคุณภาพสูงที่มีค่าป้องกันความร้อนจากแสงแดดสูง ต้องดูที่ค่าลดความร้อนจากแสงแดดรวมจริง

( Total Solar Energy Rejection – TSER) ซึ่งเป็นค่าที่ได้รับการยอมรับตามมาตรฐานสากล

ASHARE / AIMCAL / ASTM และทั่วโลก มิใช่ดูแค่ค่าการลดอินฟราเรดเพียงอย่างเดียว


3. การทดสอบฟิล์มด้วยตัวเอง ก่อนติดตั้งฟิล์มกรองแสง ควรศึกษาข้อมูลและขอคำแนะนำจาก

ผู้เชี่ยวชาญ โดยอาจจะให้ทางร้านที่ติดตั้งนำตัวอย่างมาติดให้ดู หรือมาทดสอบ เพราะหากดูแค่

ในโบรชัวร์ หรือแคตตาล็อคที่มีขนาดเล็ก อาจจะเห็นเนื้อฟิล์มได้ไม่ชัดเจน


4. เลือกร้านติดตั้งที่เชื่อถือได้ ฝีมือช่างต้องชำนาญและมีความรับผิดชอบ เพราะร้านจะต้องดูแลเรา

ตั้งแต่ต้น จนจบการรับประกัน บางที่รับประกันเป็น 10 ปี หากร้านมีช่างฝีมือดีที่ชำนาญงานจริงๆ

จะช่วยลดปัญหาในการติดตั้งฟิล์ม ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นบ่อยๆได้ เพราะฟิล์มที่มาจากโรงงานนั้น คุณภาพไม่ต่างกัน แต่การติดตั้งและการบริการดูแลลูกค้าหลังการขายต่างหากที่ ทำให้คุณค่าของฟิล์มแตกต่างกัน เพียงเท่านี้ท่านก็สามารถเลือกติดตั้งฟิล์มอาคารได้อย่างมั่นใจแล้วล่ะค่ะ


หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลยค่ะที่ 086-816-6444

ทิพย์ ออโต้ อันดับหนึ่งในการติดตั้งฟิล์มอาคาร บ้าน คอนโด

ดำเนินงานโดยผู้เชี่ยวชาญกว่า 20 ปี มีฟิล์มให้เลือกเป็นหลากหลาย

พร้อมให้คำปรึกษา ประเมินหน้างานติดตั้งตัวอย่าง ฟรี!!


368 views0 comments

Comentários


bottom of page