7 ข้อคิดเลือกรถให้เหมาะกับตัวเอง เลือกอย่างไรให้ได้คันที่ใช่ที่สุด!
top of page
  • Writer's pictureAdmin

7 ข้อคิดเลือกรถให้เหมาะกับตัวเอง เลือกอย่างไรให้ได้คันที่ใช่ที่สุด!


รถยนต์ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของใครหลายคน จริงอยู่ที่รถยนต์ เป็นทรัพย์สินที่เสื่อมมูลค่า ไม่เหมือนทรัพย์สินอื่นๆ แต่มันก็เป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตได้เป็นอย่างดี หากรถยนต์คันนั้น คือรถยนต์ที่เหมาะสมกับผู้ใช้


สำหรับคนทั่วๆ ไป มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะเป็นเจ้าของรถสักคัน มีคนโชคดีจำนวนไม่มากนัก ที่มีทุนทรัพย์มากพอที่จะซื้อรถแบบไม่ต้องคิดอะไร เปลี่ยนรถบ่อยแค่ไหนก็ได้ หรือมีรถหลายๆ คัน เมื่อรู้ว่าซื้อรถมาหนึ่งคัน ต้องใช้เงินจำนวนมาก และไม่ได้มีโอกาสเปลี่ยนบ่อยๆ ถ้าเลือกได้ เชื่อว่าทุกคน คงอยากใช้ เงินจำนวนมากที่ว่านี้ อย่างคุ้มค่า เพื่อให้ได้รถที่ตอบโจษย์การใช้งาน และตอบสนองความต้องการได้ดีที่สุด

1. กำหนดงบประมาณที่เหมาะสม

ปฏิเสธไม่ได้ว่า เงิน คือข้อจำกัดข้อใหญ่ที่สุดในการเลือกซื้อรถ จะรู้ว่าควรซื้อรถราคาเท่าไหร่ ก็ต้องมาสำรวจตัวเอง ในเรื่อง รายรับ รายจ่าย เงินเก็บ และความจำเป็นในการใช้รถ สำหรับคนที่ซื้อด้วยการผ่อน ก็ต้องมาเสียดอกเบี้ยเพิ่มด้วย อย่าลืมว่า นอกจากราคาค่าตัวรถแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายที่ตามมาอีกมากมาย

2. เลือกรถให้เหมาะกับการใช้งาน

เพราะรถแต่ละประเภท ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานที่แตกต่างกัน ลองสำรวจตัวเองดูว่า ถ้าซื้อรถมา จะมาใช้งานแบบไหน เช่น ถ้าต้องเดินทางเกิน 5 คนตลอดเวลา การใช้รถมินิแวน 7 ที่นั่ง ก็น่าจะเหมาะกว่าใช้รถเก๋งคันใหญ่ แต่ก็นั่งได้เพียง 5 คน

ขั้นตอนต่อไปหลังจากดูการใช้งานในชีวิตประจำวันแล้ว ต่อมาคือเพื่อนๆ ต้องศึกษาการใช้งานของรถแต่ละประเภทว่ารถแต่ละประเภทมีการใช้งานแบบไหน ลองดูว่าการใช้งานแบบเราเหมาะกับรถประเภทไหน


โดยในปัจจุบันจะมีประเภทรถต่างๆ ดังนี้


ประเภทรถยนต์ Super Mini หรือ Eco Car : เป็นรถยนต์ที่มีขนาดเล็กที่สุด มาพร้อมกับราคาที่ถูกกว่าประเภทอื่นๆ ภายในระบบการใช้งานมีครบ เน้นขับในเมือง หรือไปทำงาน ช่วยในเรื่องการประหยัดน้ำมันได้เป็นอย่างดี ทั้งยังขับง่าย จอดรถได้คล่อง แต่พื้นที่ภายในอาจไม่กว้างขวางเหมือนรถยนต์ประเภทอื่นๆ ตัวอย่างรถที่ได้รับความนิยม เช่น Nissan March, Honda Brio และ Suzuki Swift เป็นต้น


ประเภทรถยนต์ที่นั่งขนาดเล็ก หรือ Compact Car : ประเภทนี้มักจะเป็นรุ่นที่ขายดี เป็นรถมีขนาดที่ไม่เล็กเกินไปสำหรับการเป็นรถครอบครัว แต่ไม่ใหญ่เทอะทะเกินไปสำหรับการขับขี่ในเมือง มาพร้อมกับขนาดของรถยนต์และเครื่องยนต์ที่เหมาะสม เน้นใช้ประโยชน์ขับในเมืองหลวง หรือไปทำงาน ตัวอย่างประเภทรถยนต์ที่นั่งขนาดเล็ก เช่น Toyota Collora Altis, Nissan Sunny, Honda Civic และ Mazda3 เป็นต้น


ประเภทรถยนต์นั่งขนาดกลาง : คือ รถยนต์ที่มีขนาดภายในใหญ่พอที่จะรองรับผู้ใหญ่ 5 คน นั่งได้โดยไม่เบียดกัน มีเครื่องยนต์ที่สมรรถนะสูงขึ้น เพื่อรองรับน้ำหนักตัวรถที่มากขึ้น สามารถใช้เป็นรถสำหรับครอบครัวได้ดี และมีราคาที่ไม่สูงจนเกินไป ตัวอย่างรถยนต์นั่งขนาดกลาง เช่น Honda Accord, Nissan Teana และ Toyota Camry เป็นต้น


ประเภทรถยนต์อเนกประสงค์ หรือ MPV : เป็นคำที่ย่อมาจาก Multi-purpose vehicle มีลักษณะทางการออกแบบให้ใช้พื้นที่ยืดหยุ่น และมีขนาดใหญ่ ทำให้มีพื้นที่ใช้สอยค่อนข้างมาก มีลูกเล่นที่สำคัญคือเบาะนั่งแถว 3 ซึ่งสามารถพับเก็บได้ เมื่อพับแล้ว จะเกิดที่ว่างสำหรับวางสัมภาระจำนวนมาก และเมื่อกางเบาะ ก็จะเกิดที่นั่งรองรับได้เพิ่มขึ้น ทำให้การโดยสารไม่อึดอัด ตัวอย่างรถยนต์ประเภท MPV เช่น Toyota Avanza, Honda Mobilo และ Honda Freed เป็นต้น


ประเภทรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูง หรือ SUV : เป็นคำที่ย่อมาจาก Sport Utility Vehicle ประเภทนี้จะคล้ายๆ กับรถ MPV แต่จะต่างที่ MPV จะใช้สอยพื้นที่ยืดหยุ่นมากกว่า และมักใช้เครื่องยนต์เบนซิน ในขณะที่ SUV จะมีสมรรถนะสูงกว่า สามารถใช้ไต่เขาชันและวิ่งทางวิบากได้ดีกว่า แต่การใช้สอยพื้นที่อาจไม่ยืดหยุ่นหลากหลายเท่า MPV แต่ก็ถือว่าอเนกประสงค์มากกว่ารถเก๋ง และเพียงพอที่จะเรียกว่าเป็นรถเนกประสงค์ ตัวอย่างรถยนต์ประเภท SUV เช่น Nissan Juke, Honda HR-V และ Mazda CX-3 เป็นต้น


ประเภทรถกระบะดัดแปลง หรือ PPV : เป็นคำที่ย่อมาจาก Pick-up Passenger Vehicle ประเภทนี้เป็นรถยนต์ที่สร้างจากความคิดใหม่ คือการใช้รถยนต์กระบะรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อ หรือรุ่นยกสูง มาดัดแปลงกลายเป็นรถยนต์โดยสาร ต่างจากเดิมที่เป็นรถรุ่นที่สร้างมาโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีข้อเสียที่ความนุ่มนวล เนื่องจากเป็นรถที่มีพื้นฐานจากกระบะ แต่ก็มีข้อดีในด้านต้นทุนการผลิตและภาษี รถ PPV ซึ่งจัดเป็นรถขนาดกลาง แต่กลับราคาต่ำกว่ารถอเนกประสงค์ขนาดเล็ก ทั้งยังได้ขนาดใหญ่กว่า เครื่องยนต์พละกำลังสูงกว่า มีความคุ้มค่ามากกว่า ตัวอย่างรถยนต์ประเภท PPV เช่น Toyota Fortuner, Isuzu Pajero Sport และ Ford Everest


ประเภทรถกระบะ : คือรถประเภทที่เป็นที่นิยมในไทยเป็นอย่างมาก เพราะด้วยเมืองไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ทำให้รถกระบะเป็นรถที่ตอบสนองการใช้งานในเรื่องของขนของได้เป็นอย่างดี โดยเป็นรถที่มีพื้นที่ว่างด้านท้ายรถจำนวนมาก และห้องโดยสารมีพื้นที่น้อย รถกระบะจึงมักใช้ในธุรกิจขนาดเล็ก และกลาง ตัวอย่างรุ่นรถกระบะที่ได้รับความนิยม เช่น Nissan Navara, Mazda BT-50, Toyota Hilux Vigo และ Isuzu Dmax เป็นต้น


3. ทดลองขับ ก่อนตัดสินใจ ทุกครั้ง

การทดลองขับก่อนซื้อ ถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญที่สุด และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการซื้อรถ เพราะมันสามารถแทนคำอธิบายหลายๆ อย่างได้ และจะทำให้ผู้ซื้อรับรู้ถึงความรู้สึกในการขับขี่ รวมทั้งได้สัมผัสการตอบสนองของรถที่จะซื้อว่าเป็นอย่างไร โดยปกติผู้ซื้อมีโอกาสผิดหวังสูงมาก หากซื้อรถโดยไม่ทดลองขับก่อน

4. เป็นรถที่ดูดีในสายตาเรา

ความสวย ยังคงเป็นอีกเหตุผลสำคัญ ในการตัดสินใจเลือกซื้อรถสักคันเสมอ แม้ว่ามันอาจจะไม่ใช่รถคันสุดท้ายของเรา แต่มันควรเป็นรถที่ทำให้เรารู้สึกดีที่ได้ขับมัน

รถยนต์ในปัจจุบันมีหลากหลายรุ่น และหลายประเภท เราต้องดูว่าเราถนัดขับรถยนต์ประเภทไหน แต่ละคนความถนัดจะแตกต่างกันออกไป อาทิเช่น บางท่านอาจเคยขับรถเก๋ง แต่ยังไม่เคยขับรถกระบะ หรือบางท่านเคยขับรถเกียร์ออโต้มาก่อน แต่ไม่เคยขับรถยนต์เกียร์ธรรมดา ทั้งนี้อาจไม่ได้ดูแค่เพียงความถนัด



เลือกให้ดีว่าเราเหมาะกับรถแบบไหน

เพราะนั่นยังไม่เพียงพอ เราต้องดูถึงขนาดของตัวรถ และร่างกายของคนที่ใช้รถยนต์ด้วย เพราะรถยนต์บางคันนั้นมีการออกแบบที่ไม่เหมาะกับตัวผู้ขับเอง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคนขับตัวใหญ่ ควรเลือกรถยนต์ที่ให้ความรู้สึกที่นั่งสบาย ไม่อึดอัด และควรขับได้อย่างสะดวก ไม่ควรเลือกรถยนต์ที่นั่งไม่สะดวกนั่นเอง


ดูการใช้งานในชีวิตประจำวันว่ามีการใช้งานแบบไหนเป็นหลัก

ก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์สักคัน สิ่งที่อยากแนะนำเลยคืออยากให้เพื่อนๆ สังเกตการใช้งานในแต่ละวันว่าส่วนใหญ่เรามีกิจกรรม หรือมักใช้งานประเภทไหนเป็นหลัก ต้องใช้พื้นที่ภายใน และภายนอกขนาดไหน เน้นใช้งานสำหรับขนของหรือไม่ เน้นการใช้งานแบบขึ้นเขาหรือในพื้นที่ที่บนผิวขรุขระหรือไม่ เราต้องสังเกตการใช้งานของเราให้ชัดเจน เพื่อจะได้เมื่อซื้อรถมาแล้วจะได้ตอบสนองการใช้งานของเรานั้นได้ถูกจุดนั่นเอง


5. รถเรื่องหลัง โปรโมชั่นเรื่องรอง

แน่นอนว่า โปรโมชั่น ของแถม หรือกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ เป็นสิ่งที่ช่วยให้ตัดสินใจง่ายขึ้น และเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคอย่างมาก แต่อย่าลืมว่าความพึงพอใจในตัวรถ ควรจะเป็นประเด็นหลักในการเลือกซื้อรถเสมอ

6. ศึกษาช่วงเวลาการเปลี่ยนโฉมไว้บ้าง

รถยนต์ก็เป็นสินค้าที่มี Product Lifecycle มีอายุตลาดเฉลี่ย 5-10 ปี ซึ่งแต่ละช่วงเวลาของอายุการตลาด ก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป แล้วแต่ว่า ใครจะชอบซื้อตอนไหน

Model Change - ช่วงเปิดตัวรุ่นใหม่ทั้งคัน ได้รถที่มีเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด และได้ความสดใหม่ เหลือเวลาอีกนานกว่าจะตกรุ่น

Minor Change - หลังจากที่เปิดตัวมาประมาณ 2-3 ปี หรือช่วงกลางอายุตลาด รถแต่ละรุ่น จะมีการ "ปรับโฉม" ซึ่งจะเป็นการปรับปรุงรถคันเดิม ให้ลงตัวยิ่งขึ้นในหลายๆ ด้าน การปรับโฉม อาจเกิดขึ้นมากกว่า 1 ครั้ง

หลายๆ ครั้ง บริษัทผู้ผลิตมักจะมีข้อโปรแกรมส่งเสริมการขายดีๆ สำหรับรถที่ ค้างสต็อค ตกรุ่นแล้ว หรือ ใกล้ตกรุ่น เช่น ส่วนลดเงินสดจำนวนมาก ดอกเบี้ยอัตราพิเศษ และอื่นๆ

7. ไม่มีรถคันไหน ที่ดีไปซะทุกอย่าง!

เพราะฉะนั้นแล้วต้องตัดสินใจให้ดี และยอมรับในข้อเด่นข้อด้อยของรถแต่ละคันค่ะ

10 views0 comments
bottom of page